"
ข้อความคัดลอก มาครับ"
จากหลายๆสาเหตุ ปีหน้า จุฬาฯ จะเพิ่มการรับนิสิตเข้าศึกษาต่อในระบบ admission ตรงมากขึ้น โดยบางคณะที่มีปัญหามากๆ อาจจะใช้การ admission ตรงทั้งหมดโดยไม่รับ admission กลางเลย
admission ตรงของจุฬาฯ จะดำเนินการพร้อมกันทั้งระบบ ทุกคณะ
โดยจะให้นักเรียนเลือกคณะได้ ๔ อันดับ เหมือนกับการสอบ admission จากส่วนกลาง
และเมื่อเป็น admission ตรง สำหรับบางคณะก็จะมีข้อสอบความถนัดเฉพาะที่จัดทำขึ้นโดยจุฬาฯ เข้ามาถ่วงน้ำหนักด้วย โดยข้อสอบความถนันดที่จะใช้สอบอาจเป็นข้อสอบบรรยาย หรือ ปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้แต่ละคณะเป็นผู้กำหนด โดยการสอบความถนัดดังกล่าวจะมีขึ้นใน
วันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน นี้แล้วโดยในส่วนนี้ ขอพูดถึงเฉพาะ
คณะวิทยาศาสตร์นะครับ
การสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (จัดสอบช่วงเดียวกับความถนัดสำหรับคณะอื่นๆ)
-
รับสมัคร :
๑๖-๓๑ พฤษภาคม (ต้องรีบแล้วนะครับ)
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : ๘ มิถุนายน
- สอบข้อเขียน : ๒๘ มิถุนายน
- ประกาศคะแนน : ๓๐ กรกฎาคม
สำหรับคณะวิทยาศาสตร์จะรับ admission ตรงเฉพาะนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม.๖ เท่านั้น ชั้น ม. อื่นหรือเด็กซิ่ล มาสอบลองสนามได้ แต่ไม่สามารถใช้ผลในการขอสมัคร admission ตรงได้นะครับ
เมื่อได้ผลสอบแล้ว จะใช้ผลสอบความถนัดนี้ในการสมัคร admission ตรงต่อไป ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์จะมีให้ ๒ วิธี
การ admission ตรงวิธีพิเศษ (โครงการ โอลิมปิค JSTP และ พสวท)
- รับสมัคร : ๑-๑๕ สิงหาคม
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก : ๒๕ กันยายน
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : ๒๒ ตุลาคม
- สอบสัมภาษณ์ : ๒๗ ตุลาคม
- ประกาศผล : ๓๐ ตุลาคม
- รายงานตัว และ ยืนยันสิทธิ์ด้วยตนเอง : ๔ พฤศจิกายน
ถ้าพลาดจากกรณีนี้ จะมีอีกช่องเหลือให้ก็คือ
การ admission ตรงวิธีปรกติ (โครงการรับโดยวิธีพิเศษ : วพ)
- รับสมัคร : ๑๖-๓๐ พฤศจิกายน
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก : ๒๑ ธันวาคม
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : ๔ มกราคม
- สอบสัมภาษณ์ : ๑๑ มกราคม
- ประกาศผล : ๑๙ มกราคม
- รายงานตัว และ ยืนยันสิทธิ์ด้วยตนเอง : ๒๒ มกราคม
คุณสมบัติอื่นๆโครงการโอลิมปิค : ให้สิทธิ์กับผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก สสวท รอบที่ ๒ หรือ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก สอวน ระดับประเทศ
โครงการ JSTP : ให้สิทธิ์กับผู้ร่วมโครงการ JSTP หรือผ่านการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
โครงการ พสวท :
ใช้ผล GAT ร้อยละ ๑๐
ใช้ผล PAT1 ร้อยละ ๑๐
ใช้ผล PAT2 ร้อยละ ๓๐
ใช้ผลสอบความถนัด ร้อยละ ๕๐
โครงการ วพ :
ใช้ GPAX ชั้น ม.๔ และ ๕ และ ม. ๖ เฉพาะภาคการศึกษาต้น ร้อยละ ๑๐
ใช้ผล GAT ร้อยละ ๑๐
ใช้ผล PAT1 ร้อยละ ๑๐
ใช้ผล PAT2 ร้อยละ ๓๐
ใช้ผลสอบความถนัด ร้อยละ ๔๐
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่website ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์
http://www.acad.sc.chula.ac.thwebsite สำนักทดสอบแห่งจุฬาฯ
http://www.atc.chula.ac.thหรือ ลองสอบถามที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของทาง โรงเรียนดูนะครับ======================
สำหรับรุ่น ม.๕ ปีนี้ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดอีก
ปีหน้าจุฬาจะรับ admission ตรงทั้งหมด โดยจัดสอบเอง และชุดข้อสอบทุกคณะจะเหมือนกัน เช่นสาขาวิทยาศาสตร์จะจัดสร้าง
CU-Science ในวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แยกออกจากกัน ซึ่งในเบื้องต้น คณะวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ จะใช้
Cu-Science แทน PAT2 เพราะเราแยกรายวิชาไม่ใช่ ๓ ตัว ๑๐๐ เหมือน PAT อีกต่อไป ส่วนคณะสถาปัตยกรรมจะใช้ CU-Science เฉพาะส่วนวิชาฟิสิกส์
และที่สำคัญ CU-Science ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจะเริ่มให้สอบได้ในเดือน
สิงหาคมนี้ โดยเก็บผลสอบได้สองปีเหมือน CU-TEP และ CU-TTP แปลว่า ม.๕ จะต้องเริ่มเตรียมตัวกันแล้วนะครับ