สาส์นพระสันตะปาปาร่วมแสดงความยินดีในโอกาสวันวิสาขบูชา
สมณสภาเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา
การเสวนาระหว่างคริสตศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชน
โดยการเป็นพยานถึงจิตตารมณ์ความยากจน
สาส์นแสดงความยินดีในโอกาสวันวิสาขบูชา
พ.ศ. 2552 / ค.ศ. 2009
นครรัฐวาติกัน
พี่น้องพุทธศาสนิกชน ที่เคารพรัก
1. ในนามของสมณสภาเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา
ขอร่วมแสดงความยินดีและความปรารถนาดีอย่างจริงใจมายังท่าน ในโอกาสวันวิสาขบูชาที่กำลังใกล้เข้ามานี้ ขอให้วันฉลองนี้นำความชื่นชมยินดีและสันติสุขมาสู่ดวงใจของพี่น้องพุทธ ศาสนิกชนทั่วโลก การฉลองในปีนี้เปิดโอกาสให้พวกเราชาวคาทอลิกได้แลกเปลี่ยนสนทนากับเพื่อนพี่ น้องชาวพุทธผู้เป็นเพื่อนบ้านของเรา เพื่อที่จะสานต่อสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพเดิมและสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย มิตรภาพที่มีความจริงใจระหว่างกันซึ่งจะเปิดทางให้เราแบ่งปันความชื่นชม ยินดี ความหวัง และขุมทรัพย์ฝ่ายจิตซึ่งกันและกัน
2. ในช่วงนี้ที่รำลึกถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่าน เราเห็นถึงความชัดเจนยิ่งขึ้นว่าชาวพุทธและชาวคริสต์โดยอาศัยความซื่อสัตย์ ที่มีต่อธรรมปฏิบัติฝ่ายจิตของทั้งสองฝ่าย ไม่เพียงแต่จะสามารถหยิบยื่นความเป็นอยู่ที่ดีและสันติสุขให้แก่ชุมชนของเรา เท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะช่วยกันจรรโลงสังคมโลกได้ด้วย เรามีความรู้สึกลึกๆ ถึงการท้าทายที่อยู่ข้างหน้าเราในด้านหนึ่งเกี่ยวกับปรากฏการณ์แห่งความยาก จนที่ยิ่งวันยิ่งจะแผ่ขยายกว้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ และในอีกด้านหนึ่งนั้นก็มีการแข่งขันครอบครองวัตถุสิ่งของ เป็นการแผ่ขยายเงามืดแห่งบริโภคนิยมอย่างน่าใจหาย
3. สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ตรัสไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า
ความยากจนอาจแบ่งได้เป็นสองประเภทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ความยากจน ที่เลือกเอง กับความยากจน ที่ต้องกำจัดให้หมดไป (คำเทศน์ วันที่ 1 มกราคม 2009) สำหรับคริสตชน
ความยากจนที่เลือกได้นี้ คือ การยอมคิดตามแนวทางของพระเยซูคริสต์ โดยการปฏิบัติสิ่งนี้ คริสตชนจะมีส่วนร่วมในการรับพระหรรษทานของพระคริสต์ ผู้ทรงเห็นแก่เรา จึงยอมกลายเป็นคนยากจน ทั้งๆที่ทรงร่ำรวย โดยอาศัยความยากจนของพระองค์ เราจึงกลับกลายเป็นคนร่ำรวย (เทียบ 2 โครินธ์ 8, 9) เราเรียนรู้ความยากจนนี้ เพื่อเข้าใจถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ การยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง อันทำให้จิตตนเองว่างเปล่า ไม่ยึดติดกับวัตถุ เรายังมองเห็นความยากจน ประดุจการยอมรับสถานภาพที่เราเป็น พร้อมทั้ง ยอมรับพรสวรรค์ ที่เราได้รับมา และข้อจำกัดต่างๆ ที่เรามี ความยากจนเช่นนี้ ทำให้เราเปิดใจรับฟังพระเจ้า และเพื่อนพี่น้องชายหญิงทุกคน มันทำให้เราเปิดตัวเอง เพื่อผู้อื่น และเคารพพวกเขาแต่ละคน มันทำให้เราเห็นความสำคัญของสิ่งสร้างทุกชนิด รวมถึงความสำเร็จจากน้ำพักน้ำแรงของเพื่อนมนุษย์ เราถูกสอนให้ทำสิ่งหล่านี้ โดยการใช้เสรีภาพให้ถูกต้อง ด้วยความกตัญญู ความรอบคอบเอาใจใส่ ความเคารพ และการฝึกจิตไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ด้วยจิตตารมณ์เช่นนี้ จะช่วยเราให้ใช้ทรัพยากรในโลกนี้ ประหนึ่งว่า เราเป็นคนไม่มีอะไรเลย และขณะเดียวกัน เราก็มีทุกสิ่งทุกอย่างเพียบพร้อม (เทียบ 2 โครินธ์ 6, 10)
4. สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ยังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า
มีความยากจนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่การถูกกีดกันจากวัตถุปัจจัย ซึ่งพระเจ้าไม่ทรงปรารถนาและเป็นสิ่งที่เราควรจะช่วยกันต่อสู้ เป็นความยากจนที่กีดกันผู้คนและครอบครัวจนไม่สามารถดำเนินชีวิตที่เหมาะสม กับศักดิ์ศรีมนุษย์ เป็นความยากจนที่ไม่ชอบด้วยความยุติธรรม ไม่มีความเท่าเทียมกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้มันก็คือความยากจนที่คุกคามการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นอีก ในสังคมที่ร่ำรวยและพัฒนาแล้วมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการผลักดันให้ผู้คนกลุ่มนี้เป็นบุคคลชายขอบของสังคม อันส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ศีลธรรม และจิตวิญญาณ ซึ่งพบเห็นในผู้คนที่ถูกรบกวนจนทำให้ชีวิตภายในสับสนและต้องประสบกับความเลว ร้ายต่างๆ ถึงแม้จะมีความเจริญก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจสักเท่าใดก็ตาม (สารวันสันติภาพสากล 2009 ข้อ 2)
5. พี่น้องพุทธศาสนิกชนที่เคารพรัก ในขณะที่เราชาวคาทอลิกมองความหมายแห่งความยากจนในมิตินี้ เราก็สนใจในประสบการณ์ฝ่ายจิตของพวกท่านด้วย เราใคร่ขอขอบคุณในการเป็นประจักษ์พยานอันน่าประทับใจในการไม่ยึดติดกับวัตถุ และพอใจในความสันโดษของพวกท่าน บรรดาพระภิกษุ แม่ชี และฆราวาสเป็นจำนวนมากสมัครใจถือปฏิบัติความยากจน แบบเลือกเอง อันเป็นการบำรุงเลี้ยงชีวิตจิตของมนุษย์ ก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหมายของชีวิตแท้ที่มั่งคั่ง อีกทั้งค้ำจุนความตั้งใจที่จะส่งเสริมการมีน้ำใจดีของประชาคมโลกอีกด้วย เราขอส่งความปรารถนาดีมายังท่านอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ท่านทั้งหลายจงประสบแต่ความสุขความเจริญในโอกาสวันวิสาขบูชานี้เทอญ (พระคาร์ดินัล ฌอง-หลุยส์ โตร็อง)
สมณมนตรี
(อาร์คบิช็อป เปียร์ ลุยจี เชลาตา)
เลขาธิการ
Pontifical Council for Interreligious Dialogue
00120 Vatican City, Rome, Italy
Tel: +39.06.6988 4321 / 06.6988 3648
Fax: +39.06.6988 4494
E-mail:
dialogo@interrel.vaที่มา
http://catholicworldtour.spaces.live.com/blog/cns!EA91C1C5E2FBFD4F!6345.entry