Summoner Master Forum
November 30, 2024, 04:26:18 PM *
Welcome, Guest. Please login or register.

Login with username, password and session length
News: ประกาศใช้เวบบอร์ดใหม่ http://www.stmagnusgame.com/webboard/index.php

 
   Home   Help Login Register  
Pages: [1]
  Print  
Author Topic: ไม้ขีดไฟ  (Read 2519 times)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
Longinus
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 393


« on: August 06, 2008, 03:25:32 PM »

ไม้ขีดไฟถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1827 โดยนักเคมีชาวอังกฤษชื่อ จอห์น วอล์คเกอร์ ไม้ขีดก้านแรกของโลก ทำขึ้นจากเศษไม้ จุ่มปลายด้วยส่วนผสมของ แอนติโมนีซัลไฟด์ โปตัสเซียมคลอเรต และกาวจากยางไม้ เมื่อเอาไม้ขีด ขีดกับอะไรก็ได้ ที่เนื้อหยาบๆ เช่น กระดาษทราย ก็จะเกิดประกายไฟ แต่ไม้ขีดชนิดนี้ยังมีปัญหาที่ ขีดแล้วติดบ้างไม่ติดบ้าง ต่อมาใน ค.ศ. 1930 ชาร์ลส์ โซเรีย ชาวฝรั่งเศส ได้ผลิตไม้ขีดไฟ ที่ปลายหุ้มด้วยฟอสฟอรัสเหลือง ซึ่งมีคุณสมบัติจุดติดไฟได้ดีขึ้น แต่ต่อมาพบว่า ฟอสฟอรัสเหลืองที่ใช้เป็นวัตถุมีพิษ ทำให้คนงานโรงงานไม้ขีดไฟ ป่วยเป็นโรคที่เรียกว่า Phossy Jaw ซึ่งร้ายแรงถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตทีเดียว

ใน ค.ศ. 1940 มีการค้นพบฟอสฟอรัสแดง ทำให้เทคโนโลยีการผลิตไม้ขีดไฟเปลี่ยนไป และมีความปลอดภัยขึ้น โดยไม้ขีดไฟแบบใหม่นี้ จะจุดได้ก็ต่อเมื่อขีดลงบนพื้น ที่เตรียมไว้เท่านั้น หัวไม้ขีดจะถูกหุ้มด้วย โปตัสเซียมคลอเรต ขณะที่พื้นที่ที่ขีด ที่โดยปกติจะเป็นข้างกล่องไม้ขีด จะถูกฉาบด้วยฟอสฟอรัสแดง เมื่อโปตัสเซียมคลอเรต กระทบกับฟอสฟอรัสแดง จะเกิดปฏิกิริยาให้ความร้อนมากพอ ที่จะจุดไฟติดได้ ส่วนวัสดุอื่นก็ใช้ทำก้านไม้ขีดไฟได้ด้วย เช่น ด้ายเคลือบขี้ผึ้ง และกระดาษแข็งเคลือบขี้ผึ้ง แต่ไม้เป็นวัสดุที่ใช้ทำก้านไม้ขีด ได้ดีที่สุด

ไม้สำหรับทำก้านไม้ขีด ควรจะเป็นไม้สีขาว ไม่มีกลิ่น เนือไม้ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป นิยมใช้ไม้มะยมป่า ไม้มะกอก ไม้อ้อยช้าง ไม้ปออกแตก เป็นต้น ก่อนจุ่มทำหัวไม้ขีดจะต้องเอาปลายก้านไม้ขีด ที่จะติดหัวนั้นไปจุ่มขี้ผึ้งพาราฟินก่อน หากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึม พาราฟิน พาราฟิน นี้จะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีด ไปสู่ก้านไม้ขีดหากไม่มีพาราฟินพอขีดไฟติดปุ๊บไฟก็จะดับปั๊บ และหากเนื้อของไม้อ่อนไป ก้านไม้ขีดก็จะไม่คงรูปเป็นก้านตรงได้

ไม้ขีดไฟยุคแรกๆ ที่เข้ามาขายในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นของสวีเดนและญี่ปุ่น แต่ของญี่ปุ่นนั้นมีตราต่างๆ จำนวนมากหลายพันแบบ ภาพวาดบนฉลากไม้ขีดไฟนี้ เป็นรูปต่างๆ สารพัดมีทั้งรูปสัตว์ รูปคน รูปผลไม้ รูปดอกไม้ ซึ่งการสะสมหน้าไม้ขีดไฟ (ฉลากไม้ขีดไฟนักสะสมมักจะเรียกว่า หน้าไม้ขีดไฟ) นักสะสมจะเก็บรวบรวมหน้าไม้ขีดไฟ โดยนิยมเก็บไว้ในสมุดบัญชีเล่มใหญ่ๆ ใช้วิธีปิดกาว หรือเจาะกระดาษสำหรับสอดมุมหน้าไม้ขีดเข้าไปได้ โดยพวกบาทหลวง ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา เป็นผู้นำเข้ามาใช้ก่อน ภายหลังจึงเริ่มมีเข้ามาขาย

ช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 คนไทยสามารถผลิตไม้ขีดไฟเองได้ ทำให้การนำเข้าไม้ขีดไฟจากต่างประเทศค่อยๆ ลดลงจนหมดไปในที่สุด โรงงานไม้ขีดไฟของเมืองไทยในยุคต้นๆ ได้แก่ บริษัทมิ่นแซจำกัด ผลิตตรานกแก้ว ตรารถกูบ บริษัทตังอาจำกัด ผลิตตรามิกกี้เม้าท์ ตราแมวเฟลิกซ์ บริษัทไทยไฟ ผลิตตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย บริษัทเอเซียไม้ขีดไฟจำกัด ผลิตชุด ก.ไก่ ข.ไข่ บริษัทสยามแมตซ์แฟ็กตอรี่ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย ผลิตตราธงไตรรงค์ ตราพระยานาค ซึ่งมีขายมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้


ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : กระทรวงวัฒนธรรม
Logged


Lord_Jack
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 309


Email
« Reply #1 on: August 07, 2008, 12:46:52 AM »

ขอบคุณครับที่นำเรื่องดีๆมาฝาก
Logged


S_A_Y
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 7679


Email
« Reply #2 on: August 07, 2008, 01:18:21 AM »

สาระมากๆ ครับ

ไม่ได้มีกระทู้แบบนี้นานแล้วเหมือนกันนะเนี่ย
Logged


✖BookMan junior✖
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 684


Email
« Reply #3 on: August 07, 2008, 01:30:10 AM »

อื้อๆ ไม้ขีดไฟก้านเล็กๆก็มีประวัติอันยาวนานนะเนี่ย
Logged


Longinus
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 393


« Reply #4 on: August 08, 2008, 02:33:24 PM »

อ่านตอนแรกๆยังอึ้งเลยว่า ไทยนำเข้าไม้ขีดไฟ 
Logged


Simone, Deliver Band Alchemist
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 725


Email
« Reply #5 on: August 08, 2008, 03:19:02 PM »

สาระมากๆ ครับ

ไม่ได้มีกระทู้แบบนี้นานแล้วเหมือนกันนะเนี่ย
แสดงว่าที่ผ่านมามันไร้สาระซินะครับ 
Logged


Pages: [1]
  Print  
 
Jump to:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2015, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Page created in 0.062 seconds with 21 queries.