Summoner Master Forum
November 06, 2024, 06:11:22 AM *
Welcome, Guest. Please login or register.

Login with username, password and session length
News: ประกาศใช้เวบบอร์ดใหม่ http://www.stmagnusgame.com/webboard/index.php

 
   Home   Help Login Register  
Pages: [1]
  Print  
Author Topic: ยศทางคริสต์ศาสนจักร  (Read 2278 times)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic.
farid333
Member
*****
Offline Offline

Posts: 45


« on: December 16, 2007, 11:30:34 PM »

อยากรู้ครับ
ยศทางคริสต์ศาสนจักร
อาร์ชบิชอปหรือคาร์ดินัลอะไรสุงกว่ากัน
เเละอธิบายยศต่างๆ ให้ฟังหน่อย
Logged


Sun Ce
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 1887


« Reply #1 on: December 16, 2007, 11:46:37 PM »


Cardinalนั้นจะยศใหญ่กว่าArbishopครับ
พระคาร์ดินัลนั้น ก้าวต่อไปจะเป็น พระสันตปาปา(pope)
เวลาเค้าเลือกpopeองคืใหม่จะเลือกจากพระคารืดินัลทั่วโลก

Logged


Nihil
Administrator
Member
*****
Offline Offline

Gender: Male
Posts: 12423


Email
« Reply #2 on: December 17, 2007, 01:03:25 AM »


Novice


ความหมายตรงตัวของ Novice ตามโรมัน แปลว่า ทาสหน้าใหม่ ซึ่งต่อมาคำนี้ถูกใช้ในการสื่อความหมายผู้เข้ามาใหม่ หรือ ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ซึ่งตามหลักลาตินแล้ว คำนี้เกี่ยวเนื่องกับทางศาสนาด้วย คือ หมายถึงผู้มาใหม่ที่กำลังฝีกฝนตน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามาประกอบกิจทางศาสนาด้วย ใครก็ตามสามารถเป็น Novice ได้ หากไม่มีความผิดที่ชัดเจนทางกฎหมายอยู่ โดยไม่มีข้อกำหนดอายุตายตัวว่าอายุต้องเท่าไหร่ แต่ตามกฎโบราณของบางที่ก็มีข้อกำหนดว่าต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี เสียก่อน Novice ทุกคนมีธรรมเนียม และ ระเบียบปฏิบัติที่แน่นอน และ ต้องเชื่อฟังคำสั่งของ
Novice-Master และ หมั่นฝึกจิต และ อุทิศชีวิตความยากลำบากให้กับทางศาสนา การศึกษาของ Novice แรกๆเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานทั่วๆไป การเรียนรู้ลำดับทางสงฆ์ ศึกษาทางจิต และ การค้นหาพรสวรรค์ของแต่ละคนว่าเหมาะสมในด้านไหน รวมถึงการศึกษาทางภาษา ทั้ง ลาติน และ กรีก และ แต่ละคนจะมีเวลาอิสระหนึ่งชั่วโมงในการศึกษาด้วยตนเองอีกด้วย



Postulant

Postulant คือขั้นปฐมของผู้มีใจใฝ่เพื่อศาสนา ในทางตะวันออก Postulant หรือผู้ต้องการเป็น Monk นั้น ต้องผ่านการทดสอบที่ยากลำบากมากมายกว่าจะได้เริ่มเข้ามาบวช ซึ่งทั้งหมดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ความตั้งใจ และ เจตนา ในการบวชของคนๆนั้น ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติตรงนี้ก็แพร่ไปทางตะวันตกด้วย เหมือนคำกล่าวของ นักบุญ Benedict มีไว้ว่า “อย่าให้ผู้สมัครหน้าใหม่ได้รับการยอมรับอย่างง่ายๆในทันที แต่จงลองให้เขาดูแลเอาใจใส่สิ่งต่างๆก่อน ดั่งที่นักบุญ ยอห์น เคยแนะนำเอาไว้ เพื่อทดสอบวิญญาณของเค้าคนนั้นว่าพระเจ้าสถิตย์กับเขาหรือไม่ ถ้าเขายังคอยยืนยันที่จะขอบวช เป็นเวลาสี่ถึงห้าวัน และสามารถอดทนต่อการปฏิเสธ รวมถึงความยากลำบากที่ทดสอบได้ ก็จงเปิดประตูนั้นให้เขาเถิด” ซึ่งหลายต่อหลายที่ก็มีธรรมเนียมปฏิบัติที่คล้ายๆกัน เพื่อป้องกันผู้มิประสงค์ดีมาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของทางโบสถ์ สำหรับผู้ได้ผ่านมาทำหน้าที่ทางศาสนาแล้วจะถูกแยก ไม่ปะปนกับ Novice และเราเรียกคนที่เข้ามารับใช้ศาสนาแล้ว แต่ยังไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจนนี้ว่า Postulant



Acolyte


acolyte เป็นนักบวช ที่มียศต่อจาก subdeacon หน้าที่หลักของ acolyte เกี่ยวกับงานในพิธีมิสซา เช่น จุดเทียนที่แท่นบูชา และ ถือสิ่งต่างๆในพิธี และ เตรียมน้ำ และ ไวน์ ในพิธี รวมไปถึงจัดการช่วยเหลืออื่นๆในพิธีมิสซาด้วย
จากบันทึกโบราณของโบสถ์ทางโรมัน หน้าที่ของ acolyte จะเป็นในฐานะ อาสาสมัครที่เข้าถึงคนหนุ่มสาว ที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 20 ส่วนหน้าที่อื่นๆของ acolyte ในยุคโบราณก็เกี่ยวกับหน้าที่รับใช้ต่างๆ รวมถึงการส่งมอบของ เอาของไปส่งมอบให้พระชั้นสูงในที่ห่างไกลด้วย มีบันทึกไว้ กว่า 500 ปีมาแล้ว ที่โบสถ์ในแคว้นกอลแถบตะวันตกของยุโรป (เป็นประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน) แรกเริ่มตอนสมัยนั้น acolyte จะได้รับมอบหมายงานจาก bishop ให้ทำหน้าที่ในโบสถ์ ทำหน้าที่จัดการของ จัดการเรื่องเทียน ที่ดับเทียน และส่งมอบให้ acolyte โดย archdeacon เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่า หน้าที่จัดการเกี่ยวกับแสงสว่างในโบสถ์ทั้งหมด เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ acolyte รวมถุงการเตรียมน้ำและไวน์สำหรับแท่นบูชาด้วย




Deacon


ในช่วงเวลาสมัยของอัครสาวกของพระคริสต์ ในช่วงคริสตศักราชที่ 63 นักบุญ เปาโล เคยกล่าวกับ ทิโมธี ไว้ว่า “deacon ต้องเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ ไม่พูดกลับกลอก ไม่เมาสุราเมรัย ไม่โลภในทรัพย์ และ รักษาศรัทธาไว้ในมโนสำนึก”
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงเกี่ยวกับ deacon ไว้อีกด้วยว่า “แรกเริ่ม ต้องได้รับการยอมรับก่อน ให้เขาทำงานของพระ และ ไม่ก่อซึ่งความผิดอาชญาทั้งหลาย เขาต้องมีภรรยาเพียงคนเดียว เป็นผู้ที่ปกครองบุตรธิดาของเขาอย่างดีด้วยความรัก ใช้จ่ายเงินเพื่อตัวเองเพียงพอเหมาะ และ ต้องมีความเชื่อ และ ศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระเยซูคริสต์ “ คำกล่าวนี้ไม่เพียงบอกหน้าที่และคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น Deacons แต่บอกโดยนัยอีกว่า หน้าที่การจัดการเรื่องเงินการใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของ deacons

จากกิจการอัครฑูต บทที่ 6 ข้อ 1-6 นั้น นักบุญ สเตเฟน ได้พูดเกี่ยวการก่อตั้ง deacon ขึ้นแห่งแรก ซึ่งบรรดาอัครสาวกได้ประชุมกันเพื่อจัดการเกี่ยวกับคำบ่นของพวกยิวนิยมกรีกเกี่ยวกับประเด็นว่า “บรรดาแม่ม่ายไม่ได้รับซึ่งการแจกทานประจำวัน” ซึ่งจากการประชุมพวกเขาได้สรุปกันออกมาว่า “ซึ่งเราจะละเลยพระวจนะของพระเจ้า มัวไปแจกอาหารก็หาควรไม่ เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือกเจ็ดคนในพวกท่าน ที่มีชื่อเสียงดีประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้ ฝ่ายพวกเราจะขะมักเขม้นอธิษฐาน และรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะเสมอไป” โดยที่นักบุญสเตฟานเป็นคนหนึ่งที่ถูกเลือกด้วย และ จัดว่าเป็น deacon คนแรกด้วย ซึ่งหน้าที่ต้นของ deacon สมัยนั้น รวมถึงการช่วยแม่ม่าย และ เด็กกำพร้าด้วย



Cleric
(จากคำกรีก Kleros)



ผู้ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนักบวช การจะเป็น cleric แรกเริ่มต้องผ่านพิธีปลงผมก่อน ผู้ที่มาเป็น cleric แน่นอนว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างต่างจากฆราวาสทั่วไป โดยพื้นฐาน พระเยซูคริสต์ไม่ได้จัดการบริหารยศตำแหน่งทางสงฆ์ทั้งหมด แต่บรรดาศิษย์ของพระองค์ ในระดับหนึ่ง มีอำนาจในการควบคุมฝูงชน ซึ่งอำนาจที่เหนือมวลชนทั่วไปนี้มาจากปัจจัยหลักคือสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอำนาจ ซึ่งทำให้บทบาทของทางนักบวชอย่าง cleric ต่างจากฆราวาสขึ้นอย่างชัดเจน
cleric ถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลในทางศาสนาเช่นเดียวกับ monk และ แม่ชี ซึ่งถ้าผู้นั้นเป็นชาย เขาก็ยังคงต้องอาศัยอยู่ในชุมชมนั้นด้วย แต่ถ้าเป็นหญิง อาจได้รับซึ่งสิทธิพิเศษแม้กระทั่งเวลาอยู่บ้าน ซึ่ง hermit และ ผู้ถือพรหมจรรย์ ที่คำสาบานได้รับการรับรองจาก bishop ก็มีระเบียบพึงปฏิบัติแบบเดียวกับ cleric ส่วนสมาชิกของกองกำลังศาสนาอย่าง อัศวิน Templar หรือเทียบกับปัจจุบัน อัศวินของทิวทัน และ มอลตา ก็ถูกจัดลำดับชั้นอยู่ในฐานะ cleric ซึ่งต่อมา คำว่า cleric ก็ถูกขยายความรวมไปถึงฆราวาส ที่ทำประโยชน์แก่ชุมชนด้วย สิทธิพิเศษของ cleric ที่โดดเด่นอีกอย่างคือ ได้เป็นที่รู้จักจากทางรัฐบาล

หน้าที่ของ cleric นอกจากหน้าที่สำคัญทั่วไปอย่างงานทางด้านจิตวิญญาณ และ งานในวัดแล้ว cleric ยังมีหน้าที่ที่ใกล้เคียงกับเสมียนอีก โดยงานหลักๆทั่วไปจะอยู่ในอาราม งานเกี่ยวกับให้การศึกษาแก่เยาวชน เทศน์สอน แพร่ธรรม บรรเทาผู้ป่วย และ เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับหน้าที่ cleric ในปัจจุบันมาก หน้าที่ของ cleric มีหลักฐานชัดเจนแน่นอนช่วงศตวรรษที่ 16 จากคณะเยซูอิต และ อื่นๆ

ข้อผูกมัดสำคัญของ cleric คือ
1. cleric ต้องสวมชุดอย่างเหมาะสม
2. cleric ต้องไม่มีส่วมร่วมในเรื่องการค้า และ ธุรกิจทางโลก
3. cleric ต้องสงวนระวังเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม
4. cleric ต้องหลีกเลี่ยงจากบันเทิงรมย์ที่ไม่เหมาะสม
5. cleric ต้องเชื่อฟัง bishop ในแขวงปกครองของตัวเองในทุกกรณี





Monk


Monk อาจจัดได้ว่าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคนในชุมชน มีหน้าที่เป็นผู้นำที่จะนำผู้คนในชุมชน ในสังคมของตนมาปฏิบัติธรรม ตัดขาดจากโลกภายนอก ภายใต้คำสาบานแห่ง ความสมถะ บริสุทธิ์ และ การอยู่ในโอวาท
คำว่า monk นั้น เป็นคำศัพท์โบราณที่เป็นภาษาเก่าจากทาง Angle-Saxon มาจากคำว่า “Munuc” ซึ่งมาจากคำภาษาลาติน “Monachus” และคำภาษากรีก “Monachos” อีกทีหนึ่ง ซึ่งรากคำศัพท์นี้ มาจากคำว่า mono ที่มีความหมายแปลว่าโดดเดี่ยว หรือ ลำพัง ที่สื่อถึงชีวิตที่สันโดษ และ ส่วนจากในอีกแง่ของรากศัพท์ คำนี้สื่อถึงคำว่า monsatery ที่หมายถึงวัดวาอาราม ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้ในแง่คำทางศาสนา จนมากลายเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า “Monk” ในที่สุด
ผู้ที่จะเป็น Monk ต้องมีจิตใจเดียว และ วิญญาณเดียว โดยในช่วงศตวรรษที่ 4 คำว่า monk ใช้สำหรับเรียกผู้ที่อุทิศตนให้พระเจ้า ไม่ว่าผู้นั้นจะอาศัยในชุมชน หรือ ไปแสวงบุญในป่าเยี่ยงฤาษีก็ตาม
Monk นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท

1.ผู้ทรงศีลที่ประพฤติตามกฎ และ ตามคำสั่งเจ้าวัด
2.นักพรต หรือ ฤาษี หลังฝึกฝนหาความรู้ในชุมชนพอเพียงแล้ว อุทิศชีวิตที่เหลืออย่างสันโดษ
3. Sarabaites (ชั้นหนึ่งของ monk อาศัยอยู่ในชุมชน ในบ้านของตัวเอง และ ไม่มีอำนาจทางศาสนา)
4.พระพเนจร ผู้ไม่ยึดติดกับกฎปฏิบัติ



Priest
(ความหมายโดยรากคือ “ผู้อาวุโส” มาจากคำว่า presbyteros)


Priest คือพระชั้นสูง ซึ่งสูงทั้งระดับการภาวนาบูชา และ การพลีกรรม ในแต่ละศาสนาต่างๆ ก็ต่างมี priest ของตนเอง ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างคนกับพระเจ้า หรือ กับคุณธรรม
priest มีหน้าที่และฐานะที่ต่างๆกัน priest อาจช่วยเหลือผู้ต่ำชั้นสงฆ์กว่า และ ตัว priest เอง อาจเป็นบุคคลในชนชั้นระดับพิเศษ อาจเป็นคนในชนชั้นปกครอง อาจเป็น priest อิสระทั่วไป หรือแม้แต่อาจเป็นชนพลเมืองทั่วๆไป ต่างกันเพียงที่ว่า priest นั้นประกอบกระทำหน้าที่ทางธรรมกิจ และ การพลีกรรม เป็นหลัก กฎหมายของทางคริสต์ ก็มีการพูดถึงหน้าที่ของ priest ที่จะทำหน้าที่รับใช้พระเจ้า ซึ่งหนึ่งในบทบาทที่สำคัญของ priest คือ การกระทำการระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ ผ่าน พิธีศีลมหาสนิท นั่นเอง


ลำดับของความเป็น priest นั้นมีอยู่ 2 ระดับ ระดับแรก คือ ระดับที่สัมบูรณ์ กับ ระดับที่ไม่สัมบูรณ์
ระดับแรก เป็นระดับของ bishop ซึ่งระดับ bishop นี้ จัดว่าเป็นระดับที่สมบูรณ์ของความเป็น priest และ รวมถึง high priest
ที่จัดเป็นผู้นำ และ ประธานพิธีในการสวดภาวนาต่อพระเจ้า high piest เป็นผู้ที่มีความสัมบูรณ์ทั้งหมดของความเป็น priest
ระดับที่สอง ระดับนี้ยังจัดเป็น priest แต่อยู่ระดับที่สองลงมา priest ระดับนี้ มีอำนาจในการประกอบพิธี (เช่นทำพิธีศีลมหาสนิท) ยกบาป อวยพร และ เทศน์ ซึ่ง priest ระดับนี้ จะรับหน้าที่เชื่อฟังจากทาง bishop ต่ออีกที
และด้วยสิทธิอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ priest มีนี่เอง ทำให้ priest ถือเป็นพระระดับสูง ต่อจาก bishop อีกทีหนึ่ง
ในบันทึกโบราณ กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ priest ไว้ว่า เมื่อ bishop ไม่อยู่ priest สามารถมาทำหน้าที่แทน bishop ได้ ซึ่งการทำหน้าที่แทนนี้ ก็ขึ้นกับเขตปกครองของ bishop ด้วย หน้าที่ของ priest แต่ละคนอาจต่างกันออกไป แต่หน้าที่หลักสำคัญคือ ต้องประกอบมิสซาในวันอาทิตย์ หรือ วันหยุด ในฐานะผู้ดูแลดวงวิญญาณ แต่กระนั้นก็ดี เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวว่าอะไรกันแน่ที่เป็น “หน้าที่” อะไรกันแน่ที่เป็น “สิทธิ” ของ priest ซึ่งแตกต่างไปตามปัจเจกชนแต่ละคน ซึ่งโดยทั่วไป priest จะมี อำนาจ มากกว่าที่จะเรียกว่ามีสิทธิ และการใช้อำนาจนี้ประกอบพันธกิจต่างๆ ถูกมอบโดยคอมมอนลอว์ของทางโบสถ์ อำนาจทางศาลของ bishop และ สำนักงานที่ priest แต่ละคนขึ้นอยู่



High Priest



เรียกได้ว่าเป็นหัวหน้าของบรรดา priest ซึ่งตามพระธรรมใหม่ high priest ผู้มีอำนาจตำแหน่งในการควบคุมระดับตำบล และ มีอิทธิพลอย่างมากต่อ Sanhedrin (ศาลสูงสุดของยิว) ผู้ที่มีอำนาจเป็น high priest คือผู้มีอำนาจนั่งในสภาในฐานะสมาชิกสภา และ ในฐานะตัวแทนพิเศษซึ่งได้รับเลือกมาอีกทีหนึ่ง ครั้งหนึ่งต่อปี high priest มีหน้าที่ต้องทำ คือ หน้าที่พรมเลือด และ หน้าที่ถวายกำยาน high priest เป็นผู้ที่ทรมานและพลีกรรมเพื่อตัวของเขาเอง เท่าๆกับที่ให้บรรดาผู้คนทั่วไป
รวมถึงหน้าที่ที่ต้องทำตามน้ำพระทัยพระเป็นเจ้าที่เขาสามารถสัมผัสรับรู้ได้ เมื่อใดก็ตามที่บรรดา priest อื่นๆประกอบศาสนกิจ priest จะมีเครื่องแต่งกายเฉพาะของสงฆ์อย่างที่ทราบ ขณะเดียวกัน เครื่องแต่งกายของ high priest จะมีชุดเสื้อคลุมทองพิเศษ ที่เรียกแบบนี้ก็เพื่อแสดงถึงคุณภาพชั้นเลิศของวัตถุดิบที่ทำขึ้นมาด้วย และ high priest ทั่วไป จะสืบทอดเสื้อนี้ต่อไปยังผู้สืบทอดรุ่นต่อๆไป บนเสื้อคลุม จะคลุมอีกชั้นด้วยชุดคลุมสีม่วง ประดับด้วยพู่สีม่วง และ สีแดง และระหว่างพู่สองข้าง จมีกระดิ่ง ที่จะส่งเสียงระหว่าง high priest เดินทางไปยัง โบสถ์ หมวกที่สวมใส่จะต่างจาก turban ของ priest ทั่วไป เป็นมงกุฎสามแฉกทองคำ โดยมีโลหะทอง จารึกไว้ว่า “พระเจ้าศักดิ์สิทธิ์”





Bishop

ตำแหน่ง bishop นี้มอบให้แก่ผู้ซึ่งมีศักด์ทั้งหมดของความเป็นสงฆ์ครบถ้วน ผู้มีอำนาจในการปกครองแคว้น โดยมีอำนาจขึ้นตรงกับ พระสันตะปาปา โดย bishop ถือเป็นพระชั้นสูงที่เหนือกว่า priest และ deacon ในลำดับชั้นอำนาจทางศาล
bishop มีอำนาจปกครอง ที่จะจัดการกับโบสถ์ต่างๆ ตามแนวทาง และ อำนาจจากทางพระสันตะปาปา ซึ่งมีอำนาจในการยับยั้ง หรือ หน่วยเหนี่ยวอำนาจ แต่ไม่ใช่อำนาจในการทำร้าย ลงโทษ bishop นั้นเป็นผู้สืบทอกจากอัครสาวก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษทั้งหมดก็ตาม ส่วนระบบและวาระสมัยของ bishop เป็นแบบ ราชาธิปไตย

แม้ bishop จะมีอำนาจในแขวงการปกครองของตน มีอำนาจออกกฎหมายได้สำหรับแขวงการปกครองของตน แต่ก็ไม่มีสิทธิเปิดประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์ส่วนตน อาจกล่าวได้ว่าอำนาจทางนิติบัญญัติของ bishop ไม่สัมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถออกกฎที่ขัดต่อกฎโดยทั่วไปของทางโบสถ์ด้วย ซึ่งมีบันทึกไว้ด้วยว่า bishop มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายทั่วไปรองรับ หรือ ในกรณีที่กรณีนั้นยังไม่มีบทจัดการที่ชัดเจนของกฎหมายทั่วไป แต่ก็ห้ามขัดต่อขอบเขตของอำนาจกฎหมายทั่วไป หรือ ขัดต่อประสงค์ของพระสันตะปาปาด้วย รวมถึงไม่สามารถออกกฎที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวเองโดยตรง หรือ ขัดเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่สาม

นอกจากนี้ bishop ยังมีอำนาจทางศาลในเขตปกครอง โดยทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของเขตปกครองนั้นๆ เว้นแต่บุคคลนั้นอยู่นอกอำนาจของ bishop นั้นๆ หรือ เรื่องที่สงวนไว้สำหรับผู้พิพากษาคนอื่น เช่น กรณีการประกาศเป็นนักบุญที่สงวนไว้ให้พระสันตะปาปา หรือ ความผิดอาญาที่สงวนไว้ให้ arch bishop พูดถึงอำนาจทางศาลแล้ว ก็รวมถึงอำนาจในการลงโทษด้วย ซึ่ง bishop เองก็มีอำนาจในการลงโทษ โดยอำนาจลงโทษทั่วไปที่ทำต่อฆราวาสคือ การติเตียน สั่งสอน
ส่วนอำนาจบริหารปกครอง ก็มีอำนาจในการสั่งการ cleric อำนาจสั่งการ priest ให้ทำหน้าที่ต่างๆ ส่วนอำนาจอื่นๆก็มี เช่น อำนาจแทรกแซงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับศาสนกิจ อำนาจจัดการดูแลการพิมพิ์หนังสือสวดต่างๆ ควบคุมจัดการพิธีการทั่วไป จนถึงอำนาจสิทธิในการไล่ผี





Archbishop


Archbishop คือ bishop ผู้ปกครองเขตปกครองของเขาเองอย่างเข้มงวด โดยที่ archbishop จะเป็นประธานนำในการประชุมกับบรรดา bishop ทั่วไป เขตการปกครองของ archbishop จะต่างจากของ bishop โดยเขตการปกครองจะเป็นการรวมกันของเขตปกครองเล็กๆ และ เช่นเดียวกับ bishop ที่กล่าวมา arch bishop ก็มีอำนาจจัดการต่างๆมากมาย สำหรับอำนาจทางศาล archbishop มีอำนาจจัดการในเขตปกครองของตน โดยมีอำนาจที่ผูกขาด สิทธิ และ อำนาจ ในการปกครองอย่างเต็มที่ ทั้งอำนาจต่อบรรดาพระ และ ต่อ ฆราวาส ทั้งทางโลกีย์วิสัย และ ทางธรรม จิต วิญญาณ ยกเว้นที่ขัดต่อกฎของทางโบสถ์ หรือเว้นในกรณีที่กฎข้อห้ามนั้นพูดอย่างชัดเจนในตัวบทกฎหมาย ซึ่งทางสภาของ Trent ได้บัญญัติเกี่ยวกับ สิทธิ อำนาจ หน้าที่ ของ archbishop ของทางโบสถ์ลาติน หลักๆไว้ดังนี้

1. archbishop ต้องคอยจัดการให้ bishop ร่วมใน สภาจังหวัดทุกๆสามปี และทำหน้าที่อย่างเหมาะสมถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อยู่ในเขตปกครองของตน
2. archbishop มีอำนาจทางศาลในการจัดการกับ bishop ใต้บังคับบัญชาตนผ่านทางคำอุทธรณ์ ทางการมอบอำนาจ และ จากการตรวจค้นของทาง canonical
3. archbishop มีสิทธิ และ หน้าที่ ในการบังคับควบคุม ในกรณีที่จำเป็น ในฐานะผู้อยู่ระดับสูงในตำแหน่งลำดับทางศาสนา




Cardinal


Cardinal (พระคาร์ดินัล) คือผู้มีฐานันดรศักดิ์ในระดับสูงของโบสถ์ทางโรมัน และ เป็นที่ปรึกษาของ pope (พระสันตะปาปา) พูดถึงสิทธิอำนาจของ cardinal นั้น cardinal ถือว่ามีสิทธิอำนาจในระดับสูงมาก และ กว้างคลอบคลุมมากทีเดียว cardinal นั้นมีสิทธิ และ อภิสิทธิเหนืออำนาจทางศาล และ เหนือกว่าอำนาจทางการตัดสินทั้งหมด จนอาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจที่จะทำการตัดสิน cardinal ได้นั้น มีเพียง pope ผู้เดียวเท่านั้น และเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจปลด cardinal ออกจากตำแหน่งด้วย ทำให้เราเห็นได้ว่าสิทธิและอำนาจของ cardinal นั้นมีมากเพียงใด คือมีอำนาจทั้งหลายถัดรองมาจาก pope หรือ เป็นตัวแทนของ pope ได้เลยทีเดียว และพูดถึงระดับ cardinal ยังมีระดับฐานันดรศักดิ์สูงกว่าพระชั้นที่เหลือทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งในบางสถานที่ cardinal นี้ยังเป็นฝ่ายผู้มีสิทธิอำนาจเลือก pope รวมไปถึงแม้แต่ฝ่ายนิติบัญญัติในหลายๆรัฐยังให้ความสำคัญต่อ cardinal ในระดับสูงทีเดียว

Cardinal นี้มีรายได้ของตัวเองอีกด้วย ซึ่งรายได้ทั้งหมดนั้นจัดการและบริหารโดย camerlengo (พระที่มีหน้าที่ดูแลกิจศาสนา) ในช่วงเวลาของยุคกลาง รายได้ของทาง cardinal นั้นมีมากพอสมควรทีเดียว ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินก็จะรวมไปเป็นทรัพย์สินของพระสันตะปาปา และใช้ในพิธี pallium การส่งมอบอำนาจ bishop และ ยังนำไปใช้สำหรับชาติ ใช้สำหรับระเบียบที่ดินศักดินา และ ใช้ในกิจการอื่นๆ ดังนั้น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา cardinal จึงมีทรัพย์สมบัติของตนเองอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ทีจะใช้รายได้นั้นในกิจการพิธีการต่างๆ




Pope
(จากภาษาลาติน Papa จากกรีก Papas)



Pope หรือ พระสันตะปาปา คือผู้ดำรงตำแหน่งของประมุขสูงสุดของโรมันคาทอลิก และ เรียกได้ว่า บนโลกใบนี้ ในตำแหน่งของทางคริสต์ ไม่มีใครจะยิ่งใหญ่เหนือกว่าพระสันตะปาปาได้เลย ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แสดงถึงผู้สืบทอดมาจาก
นักบุญ เปรโต ผู้ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาคนแรกของโลก หลักอำนาจของทางโบสถ์ เป็นอำนาจของทาง pope ที่สามารถประกาศ และ กำหนดได้ ในอำนาจของ สภาวาติกัน ในบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่า “Pastor Aeternus" ซึ่งในส่วนสี่บทในนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สำนักงานการประชุมสูงสุด เกี่ยวกับของนักบุญ เปรโต ซึ่งเป็นหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับ อำนาจศาลสูงสุดของ pope ที่มีต่อศาสนิกชนทั้งหมด อำนาจสูงสุดทั้งหมดในการไขปัญหา หรือ อธิบายข้อกังคา คำถามทั้งหมดเกี่ยวกับ ความเชื่อ และ ศรัทธา ทั้งหมด ให้กระจ่าง รวมถึงการชี้ขาดในปัญหาทั้งหมดนี้ด้วย

พระเยซูคริสต์ได้แต่งตั้งนักบุญเปรโตให้เป็นพระสันตันปาปาองค์แรกของโลก ขาก พระวรสาร นักบุญมัทธิว บทที่ 16 ข้อที่ 17-19 ที่พระเยซูตรัสกับนักบุญเปรโตไว้ว่า

“ซีโมนบุตรโยนาห์เอ๋ย ท่านก็เป็นสุขเพราะว่ามนุษย์มิได้แจ้งความนี้แก่ท่าน แต่พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ทรงแจ้งให้ทราบ ฝ่ายเราบอกท่านว่าท่านคือเปรโต (ศิลา) และ บนศิลา นี้
เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้ และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นหามิได้ เราจะมอบลูกกุญแจแผ่นดินสวรรค์ให้ไว้แก่ท่าน ท่านจะกล่าวห้ามสิ่งใดในโลก สิ่งนั้นก็จะถูกกล่าวห้ามในสวรรค์ เมื่อท่านจะกล่าวอนุญาติสิ่งใดในโลก สิ่งนั้นจะกล่าวอนุญาติในสวรรค์ด้วย”

ซึ่งยังนับเป็นการวางรากฐานก่อตั้งคริสตจักรขึ้นด้วย โดยนักบุญเปรโตได้เริ่มงานจากการไปสั่งสอนในโรม จนได้เป็น Bishop ของโรม และค่อยๆเริ่มวางรากฐานทั้งหมดของคริสตจักรที่สืบมาจนถึงกระทั่งปัจจุบัน
Logged


Pages: [1]
  Print  
 
Jump to:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2015, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Page created in 0.077 seconds with 20 queries.